วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ยังไม่พ้นขีดอันตราย.....

แบคทีเรียอีโคไล


แบคทีเรีย อีโคไล คืออะไร?

แบคทีเรียชนิดนี้ มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Escherichia coli (เอสเชอริเชีย โคไล) หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า E. coli(อี.โคไล) เป็น แบคทีเรียที่มีอยู่แล้วในร่างกายมนุษย์และสัตว์ จะพบได้ในลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อย ๆ อุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ แต่จะมีอาการไม่รุนแรง เพราะคนเรามีภูมิต้านทานโรคอยู่บ้าง และปกติเราสามารถพบเชื้อดังกล่าวได้ในอุจจาระอยู่แล้ว ถึงแม้จะไม่มีอาการอะไร

ทั้งนี้ แบคทีเรียอีโคไลนั้นมีอยู่หลายชนิด แต่เชื้อแบคทีเรียอีโคไลที่ระบาดอยู่ในทวีปยุโรปนั้น เป็นเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ชนิด โอ104 ผลิตสารพิษชิก้า (STEC) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดที่มีความรุนแรงมาก และเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส

แบคทีเรียอีโคไล แพร่เข้าสู่ร่างกายคนได้อย่างไร?
เชื้ออีโคไลจะเข้าสู่ร่างกายคนได้จากการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ ซึ่งส่วนมากจะพบในอาหารที่ปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ

เมื่อติดเชื้อ แบคทีเรียอีโคไล แล้ว จะมีอาการอย่างไร?
เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเล็กน้อย จนกระทั่งรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว อาจจมีเลือดปน มีไข้ อาเจียน ถ้า หากไม่หายภายใน 10 วัน ควรไปพบแพทย์เป็นการด่วน ไม่เช่นนั้นผู้ป่วยจะเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก และไตวาย อาจจะทำให้เสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ผู้ป่วยไม่ควรรับประทานยาระงับการถ่ายอุจจาระ เพราะยาประเภทนี้จะทำให้อาการป่วยรุนแรงขึ้นกว่าเดิม

การป้องกันและรักษา

          ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรีย อีโคไล แต่ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น และควรหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดในกลุ่มสเตอรอยด์ เช่น ยาแอสไพริน เพราะจะยาตัวนี้จะไปทำลายไตของผู้ป่วย

สำหรับวิธีป้องกันเชื้อ แบคทีเรียอีโคไล ในเบื้องต้น คือ 

          1. รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และถูกสุขลักษณะ
          2. ควรเก็บอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไว้ในอุณหภูมิต่ำ
          3. สำหรับผักสด ควรล้างน้ำให้สะอาด โดยการปล่อยน้ำไหลผ่านผักประมาณ 2 นาที
          4. ในการประกอบอาหารควรปรุงให้สุกในระดับอุณหภูมิ 71  องศาเซลเซียสขึ้นไป
          5. ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมืออยู่เสมอ
          6. เมื่อมีอาการท้องเสียขั้นรุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน และอย่ารับประทานยาระงับถ่ายอุจจาระ

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โลกร้อน

สารเคมีกับสิ่งแวดล้อม

สารเคมีในชีวิตประจำวัน

ในชีวิตประจำวัน เราจะต้องเกี่ยวข้องกับสารหลายชนิด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน สารที่ใช้ในชีวิตประจำวันจะมีสารเคมีเป็นองค์ประกอบ ซึ่งสามารถจำแนกเป็นสารสังเคราะห์และสารธรรมชาติ เช่น สารปรุงรสอาหาร สารแต่งสีอาหาร สารทำความสะอาด สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น ในการจำแนกสารเคมีเป็นพวกๆ นั้นเราใช้วัตถุประสงค์ในการใช้เป็นเกณฑ์การจำแนก ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. สารปรุงแต่งอาหาร
    1.1 ความหมายสารปรุงแต่งอาหาร
            สารปรุงแต่งอาหาร หมายถึง สารปรุงรสอาหารใช้ใส่ในอาหารเพื่อทำให้อาหารมีรสดีขึ้น เช่น น้ำตาล น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ซอสมะเขือเทศ และให้รสชาติต่างๆ เช่น
                       -  น้ำตาล   ให้รสหวาน
                       -  เกลือ   น้ำปลา ให้รสเค็ม
                       -  น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ซอสมะเขือเทศ ให้รสเปรี้ยว
  
     1.2 ประเภทของสารปรุงแต่งอาหาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
                      1. ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำส้มสายชู น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ
เป็นต้น
                      2. ได้จากธรรมชาติ เช่น เกลือ น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก อัญชัน เป็นต้น
2. เครื่องดื่ม
            เครื่องดื่ม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์จัดเตรียมสำหรับดื่ม และมักจะมี น้ำ เป็นส่วนประกอบหลัก
   บางประเภทได้คุณค่าทางโภชนาการ บางประเภทดื่มแล้วไปกระตุ้นระบบประสาท และบาง
   ประเภทดื่มเพื่อดับกระหาย แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ น้ำดื่มสะอาด น้ำผลไม้ นม น้ำอัดลม
   เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ชาและกาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
            1) น้ำดื่มสะอาด
             น้ำดื่มสะอาด เป็นเครื่องดื่มที่ไม่สิ่งอื่นเจือปน เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย ปัจจุบันน้ำดื่มสะอาดได้รับความนิยมมาก ผู้ผลิตมักจะบรรจุน้ำดื่มในขวดใสสะอาดแก้วที่สะอาด เหมาะสำหรับที่จะเสิร์ฟในร้านอาหาร หรือในงานเลี้ยงต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้ที่ควบคุมน้ำหนักส่วนใหญ่มักจะเลือกเครื่องดื่มชนิดนี้แทนเครื่องดื่มที่มีรสหวานอื่นๆ
         2) น้ำผลไม้
             น้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์มากอย่างหนึ่ง และต้องเป็นน้ำผลไม้ที่สดๆ จึงจะได้คุณค่ามาก ผู้ผลิตมักจะนำผลไม้ที่มีมากในฤดูกาลมาคั้นเอาแต่น้ำ นำมาเคี่ยวกับน้ำตาล หรือนำผลไม้สดมาปั่นผสมกับน้ำแข็ง น้ำเชื่อม จะได้รสชาติแปลกๆ หลายอย่าง

3. สารทำความสะอาด
               3.1 ความหมายของสารทำความสะอาด
                      สารทำความสะอาด หมายถึง คุณสมบัติในการกำจัดความสกปรกต่างๆ ตลอดจนฆ่าเชื้อโรค
               3.2 ประเภทของสารทำความสะอาด
                      แบ่งตามการเกิด ได้ 2 ประเภท คือ
                            1) ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำยาล้างจาน สบู่ก้อน สบู่เหลว แชมพูสระผม ผงซักฟอก
                                 สารทำความสะอาดพื้นเป็นต้น
4. สารกำจัดแมลง และสารกำจัดศัตรูพืช          
          4.1 ความหมายของสารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช
                สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช หมายถึง สารเคมีที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ป้องกันการกำจัด
   และควบคุมแมลงต่างๆ ไม่ให้มารบกวน มีทั้งชนิดผง ชนิดเม็ด และชนิดน้ำ
             4.2 ประเภทของ สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
                       1. ได้จากการสังเคราะห์ เช่น สารฆ่ายุง สารกำจัดแมลง เป็นต้น                               
2. ได้จากธรรมชาติ เช่น เปลือกมะนาว เปลือกมะกรูด เปลือกส้ม เป็นต้น

เครื่องสำอาง
        5.1 ความหมายของเครื่องสำอาง
            เครื่องสำอาง หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบร่างกาย เพื่อใช้ทำความสะอาดเพื่อให้เกิดความสดชื่น ความสวยงาม และเพิ่มความมั่นใจ
5.2 ประเภทของเครื่องสำอาง แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
            1 ) สำหรับผม เช่น แชมพู ครีมนวด เจลแต่งผม ฯลฯ
                2 ) สำหรับร่างกาย เช่น สบู่ ครีม และโลชั่นทาผิว ยาทาเล็บ น้ำยาดับกลิ่นตัว แป้งโรยตัว ฯลฯ
                3 ) สำหรับใบหน้า เช่น ครีม โฟมล้างหน้า แป้งผัดหน้า ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้วและดินสอเขียนขอบตา
                4 ) น้ำหอม
                5 ) เบ็ดเตล็ด เช่น ครีมโกนหนวด ผ้าอนามัย ยาสีฟัน ฯลฯ




ธาตุเคมี


ธาตุเคมี คือ อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นสสารอื่นได้อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน
เลขอะตอมของธาตุ (ใช้สัญลักษณ์ Z) คือ จำนวนของโปรตอนในอะตอมของธาตุ ตัวอย่างเช่น เลขอะตอมของธาตุคาร์บอน นั้นคือ 6 ซึ่งหมายความว่า อะตอมของคาร์บอนนั้นมีโปรตอนอยู่ 6 ตัว ทุกๆอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีเลขอะตอมเท่ากันเสมอ ซึ่งก็คือมีจำนวนโปรตอนเท่าๆกัน แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน ซึ่งเรียกว่า ไอโซโทปของธาตุ มวลของอะตอม (ใช้สัญลักษณ์ A) นั้นวัดเป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units; ใช้สัญลักษณ์ u) ซึ่งเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และ นิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม ธาตุบางประเภทนั้นจะเป็นสารกัมมันตรังสี และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุชนิดอื่น เนื่องจากการสลายตัวทางกัมมันตภาพรังสี
ธาตุที่เบาที่สุดคือ ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม ซึ่งเป็นสองธาตุแรกสุดที่เกิดขึ้นในกระบวนการบิ๊กแบง ธาตุอื่นๆนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือสร้างขึ้นด้วยมนุษย์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในการสังเคราะห์นิวเคลียส
จนถึงปี ค.ศ. 2004 มีธาตุที่ถูกค้นพบทั้งหมด 116 ธาตุ (ดู ตารางธาตุ) ในจำนวนนี้มี 91 ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ส่วน 25 ธาตุที่เหลือนั้นเป็นธาตุที่ถูกสร้างขึ้น โดยธาตุแรกที่ถูกสร้างขึ้นคือเทคนีเชียม ในปี ค.ศ. 1937 ธาตุที่ถูกสร้างขึ้นนี้ ทั้งหมดเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี ที่มีระยะครึ่งชีวิตที่สั้น ดังนั้นธาตุเหล่านี้ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลกนั้น ก็ได้สลายตัวไปหมดแล้ว
อะตอมของธาตุเดียวกันที่มีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากันนั้นจะเรียกว่าเป็น ไอโซโทปของธาตุนั้น


ที่มา : http://th.wikipedia.org

แอบชอบ...

เกี่ยวกับเคมี

เคมี (อังกฤษ: chemistry จาก กรีกโบราณ: χημεία) คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสสาร ความสามารถของสสาร การแปรรูปของสสาร และการปฏิสัมพันธ์กับพลังงานและสสารด้วยกันเอง เนื่องจากความหลากหลายของสสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอะตอม นักเคมีจึงมักศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ และการจัดเรียงอะตอมเพื่อรวมตัวกันเป็นโมเลกุล เช่น แก๊ส โลหะ หรือผลึกคริสตัล เคมีปัจจุบันได้ระบุว่าโครงสร้างของสสารในระดับอะตอมนั้นถือเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของสสารทุกชนิด

เคมีมักจะถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลางเนื่องจากวิชาเคมีนั้นเชื่อมต่อวิทยาศาสตร์อื่นๆ เข้าด้วยกันอย่างเช่นฟิสิกส์ ชีววิทยา หรือแม้แต่ธรณีศาสตร์ เคมีนำทางศาสตร์จำเพาะย่อยๆมากมายซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะเหลื่อมล้ำกับวิทยาศาสตร์อื่นๆ ในอัตราที่ถือว่ามากทีเดียว อย่างไรก็ตามศาสตร์จำเพาะย่อยนั้นถือว่ามีความสำคัญทางเคมีอย่างมากเฉกเช่นการผลิตและทดสอบวัตถุที่แข็งแรง การผลิตยาเพื่อรักษาโรคต่างๆ และรวมไปถึงกำหนดขั้นตอนการทำงานของร่างกายในระดับเซลล์

เคมีโดยพื้นฐานแล้วนั้นมักจะเกี่ยวกับสสาร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารด้วยกันเอง หรือการปฏิสัมพันธ์ของสสารกับสิ่งที่ไม่ใช่สสารอย่างเช่นพลังงาน แต่ศูนย์กลางของเคมีโดยทั่วไปคือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารเคมีด้วยกันในปฏิกิริยาเคมีโดยสารเคมีนั้นแปรรูปเป็นสารเคมีอีกชนิดหนึ่ง นี่อาจจะรวมไปถึงการฉายรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าสู่สารเคมีหรือสารผสม (ในเคมีแสง) ในปฏิกิริยาเคมีที่ต้องการแรงกระตุ้นจากแสง อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาเคมีนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเคมีซึ่งศึกษาสสารในด้านอื่นๆ อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น นักสเปกโตรสโคปีนั้นจะศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างแสงกับสสารโดยที่ไม่มีปฏิกิริยาเกิดขึ้น

ที่มา:วิกิพีเดีย

เรียนยังไงให้ได้เกรดเอ

                            เรียนเคมียากมากๆๆ คนติดเอฟก็เยอะ คนได้เอก็น้อย