วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แบคทีเรียอีโคไล


แบคทีเรีย อีโคไล คืออะไร?

แบคทีเรียชนิดนี้ มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Escherichia coli (เอสเชอริเชีย โคไล) หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า E. coli(อี.โคไล) เป็น แบคทีเรียที่มีอยู่แล้วในร่างกายมนุษย์และสัตว์ จะพบได้ในลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อย ๆ อุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ แต่จะมีอาการไม่รุนแรง เพราะคนเรามีภูมิต้านทานโรคอยู่บ้าง และปกติเราสามารถพบเชื้อดังกล่าวได้ในอุจจาระอยู่แล้ว ถึงแม้จะไม่มีอาการอะไร

ทั้งนี้ แบคทีเรียอีโคไลนั้นมีอยู่หลายชนิด แต่เชื้อแบคทีเรียอีโคไลที่ระบาดอยู่ในทวีปยุโรปนั้น เป็นเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ชนิด โอ104 ผลิตสารพิษชิก้า (STEC) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดที่มีความรุนแรงมาก และเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส

แบคทีเรียอีโคไล แพร่เข้าสู่ร่างกายคนได้อย่างไร?
เชื้ออีโคไลจะเข้าสู่ร่างกายคนได้จากการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ ซึ่งส่วนมากจะพบในอาหารที่ปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ

เมื่อติดเชื้อ แบคทีเรียอีโคไล แล้ว จะมีอาการอย่างไร?
เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเล็กน้อย จนกระทั่งรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว อาจจมีเลือดปน มีไข้ อาเจียน ถ้า หากไม่หายภายใน 10 วัน ควรไปพบแพทย์เป็นการด่วน ไม่เช่นนั้นผู้ป่วยจะเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก และไตวาย อาจจะทำให้เสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ผู้ป่วยไม่ควรรับประทานยาระงับการถ่ายอุจจาระ เพราะยาประเภทนี้จะทำให้อาการป่วยรุนแรงขึ้นกว่าเดิม

การป้องกันและรักษา

          ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรีย อีโคไล แต่ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น และควรหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดในกลุ่มสเตอรอยด์ เช่น ยาแอสไพริน เพราะจะยาตัวนี้จะไปทำลายไตของผู้ป่วย

สำหรับวิธีป้องกันเชื้อ แบคทีเรียอีโคไล ในเบื้องต้น คือ 

          1. รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และถูกสุขลักษณะ
          2. ควรเก็บอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไว้ในอุณหภูมิต่ำ
          3. สำหรับผักสด ควรล้างน้ำให้สะอาด โดยการปล่อยน้ำไหลผ่านผักประมาณ 2 นาที
          4. ในการประกอบอาหารควรปรุงให้สุกในระดับอุณหภูมิ 71  องศาเซลเซียสขึ้นไป
          5. ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมืออยู่เสมอ
          6. เมื่อมีอาการท้องเสียขั้นรุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน และอย่ารับประทานยาระงับถ่ายอุจจาระ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น