สารเคมีทุกชนิดส่วนใหญ่จะมีอันตราย ขึ้นอยู่กับชนิดของสารเคมีและปริมาณที่เราได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมีที่มีสลากเขียนข้างภาชนะที่บรรจุว่า "อันตราย (HAZARDOUS)" และมีรูปหัวกะโหลกไขว้แล้วละก็ จะมีอันตรายที่รุนแรงมากหากเราใช้ไม่ถูกวิธีหรือขาดการ เอาใจใส่ในการควบคุมดูแล อันตรายที่เกิดจากการใช้สารเคมี แยกออกได้ และประเภท คือ
เกิดเพลิงไหม้ อันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ การเกิดเพลิงไหม้ของสารเคมีไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซองค์ประกอบ ที่สำคัญคือ ความร้อนและปริมาณก๊าซออกซิเจนที่ช่วยในการติดไฟ และถ้าหากสารเคมีอยู่ใน ภาชนะที่ปิดอาจจะเกิดการระเบิดได้ ดังนั้นถ้าหากเราสามารถกำจัดความร้อนและปริมาณก๊าซ ออกซิเจนให้ต่ำกว่าปริมาณที่สามารถทำให้สารเคมีเกิดไฟได้ ก็จะช่วยในการป้องกันการเกิด เพลิงไหม้จากสารเคมี สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ คือ จะเกิดก๊าซไวไฟเนื่องจากปฏิกิริยาของสารเคมีบาง
ชนิด เช่น เกิดก๊าซไฮโดรเจน (H2) จากปฎิกิริยาทางเคมีของขบวนการชุบโครเมียม เป็นต้น ซึ่งเราจะต้องมีวิธีการกำจัดไม่ให้เจอกับประกายไฟอย่างเด็ดขาด เพราะก๊าซไฮโดรเจนเป็น ก๊าซที่ติดไฟได้ สารเคมีที่สามารถทำปฏิกิริยาได้ไวกับสารเคมีตัวอื่น จะต้องเก็บไว้ในภาชนะที่เหมาะสม โดยเฉพาะ มิเช่นนั้นอาจจะเกิดอุบัติเหตุจากภาชนะที่บรรจุหลังขนส่งโดยกัดกร่อนเกิดการรั่ว ของสารเคมีได้ ดังนั้นทางโรงงานจะต้องมีการตรวจสอบอยู่สม่ำเสมอ และเอาใจใส่ในเรื่องนี้ อยู่ตลอดเวลาด้วย
อันตรายของสารเคมี ต่อร่างกายมนุษย์ อันตรายของสารเคมีต่อร่างกายมนุษย์ อันตรายที่เกิดขึ้นมีหลายรูปแบบ ตามลักษณะการสัมผัสและได้รับสารเคมีเข้าร่างกาย เช่น อาจจะเข้าร่างกายเราโดยทาง ปาก จมูก และผิวหนัง ดังนั้นโดยทั่วไปจะเกิดอาการต่อมนุษย์ คือ ทางระบบการย่อยอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และโรคผิวหนัง อุบัติเหตุอันตรายที่เกิดจากการใช้สารเคมี ก็เป็นอุบัติเหตุชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน อุตสาหกรรมโดยทั่วไปได้ เนื่องจากการขาดการเอาใจใส่ต่อวิธีการใช้ หรือการตรวจสอบ ภาชนะที่บรรจุ
ในกรณีที่มีมาตรการป้องกันเกิดการชำรุดเสียหาย พนักงานในโรงงานต้องหายใจหรือรับ เอาสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเป็นอันตรายมากอาจจะถึงแก่ชีวิตได้ การที่เราต้องเอาใจใส่เรื่อง สารเคมีก็เนื่องจากว่า ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีชนิดต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างกว้าง ขวางนั่นเอง เช่น
ก๊าซแอมโมเนีย (NH3) อันตรายจะเกิดการระคายเคืองที่รุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจ ถ้าหากมนุษย์หายใจ เข้าไปปริมาณมากและมีความเข้มข้นสูง อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากก๊าซ
แอมโมเนียมีการใช้กันอย่างมากมายและมีความเข้มข้นสูง อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากก๊าซแอมโมเนียมีการใช้กันอย่างมากมาย ดังนั้นพนักงานควรใส่อุปกรณ์ ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วย เช่น ที่ครอบจมูกป้องกันก๊าซแอมโมเนียโดย
เฉพาะ ก๊าซแอมโมเนียสามารถระเบิดได้ หากรั่วไหลออกจากภาชนะที่บรรจุและเจอกับ เปลวไฟที่มีอยู่บริเวณนั้น
คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) อันตรายที่เกิดขึ้นทันทีทันใด คือ หากหายใจเข้าไปมากๆ จะทำให้ขาดความรู้สึกตัว
บางทีอาจจะทำอันตรายต่อหัวใจได้ อันตรายที่รองลงมาคือ เกิดการปวดหลัง มีผลต่อ ตับและไต และระบบของการมองเห็น และยังจะมีอันตรายมากขึ้นหากคนนั้นได้กิน เหล้าด้วย การป้องกันที่ดีคือ ควรมีการระบายอากาศที่ดีเพื่อป้องกันการหายใจเอา
ไอของสารเคมีชนิดนี้เข้าไปในร่างกาย กรดไฮโดรครอลิก (HCl) กรดนี้โดยทั่วไปเราเรียกว่า กรดเกลือ มีคุณสมบัติในการกัดกร่อนโลหะต่างๆ อันตรายต่อร่างกายมนุษย์คือ การระคายเคืองผิวหนังและระบบทางเดินหายใจหรือ ส่วนอื่นๆ ที่เราสัมผัส การป้องกันโดยทั่วไปใช้ ถุงมือ ที่ปิดจมูก ครีมทา และระบบ ระบายอากาศที่ดี
กรดไนตริค (HNO3) เป็นกรดที่มีความรุนแรงมากในการทำปฏิกิริยาเคมี เป็นตัวเพิ่มออกซิเจนให้กับ สารตัวอื่น และเป็นตัวกัดกร่อนที่รุนแรง ต้องเก็บเอาไว้ในภาชนะที่เป็นแก้ว และ ให้งจากพวกกระดาษและไม้ หากมีความเข้มข้นมากๆ จะสามารถทำให้เกิดการ ระเบิดและติดไฟได้ เมื่อกรดไนตริคทำปฏิกิริยากับสารอื่นแล้ว จะทำให้เกิดก๊าซ NOx (ออกไซด์ของ
ไนโตรเจน) ซึ่งก๊าซ NOx นี้จะมีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจจนถึงปอดของ มนุษย์ได้ การป้องกันที่ดี ี คือ ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ถุงมือยางที่ปิดจมูกเป็นต้น และต้องมีระบบระบายอากาศที่ดีด้วย
กรดซัลฟูริค (H2SO4) กรดนี้เราเรียกทั่วไปว่า กรดกำมะถัน ลักษณะเป็นของเหลวที่เข้มข้นเหมือนน้ำมัน
ใสๆ มีอันตรายต่อมนุษย์โดยการกัดกร่อนเนื้อเยื่อที่เราสัมผัส เช่น ทางเดินหายใจ แผลพุพอง เกิดโรคผิวหนัง และระคายเคืองต่อเยื่อบุตา การป้องกัน ต้องระวังต่อไอที่ระเหยและการสัมผัสโดยตรง โดยการใช้อุปกรณ์ป้อง กันอันตรายส่วนบุคคล
กรดกำมะถัน ที่มีความเข้มข้นสูง จะกัดกร่อนต่อโลหะ และมีคุณสมบัติต่อการดูดน้ำ จากอากาศ และเมื่อทำปฏิกิริยากับโลหะจะเกิดก๊าซที่ไวไฟซึ่งสามารถเกิดการระเบิดได้
ไตรคลอโรเอทธิลีน ( Cl-CH = CCl2) มีคุณสมบัติเป็นด่างละลายคราบไขมันต่างๆ อันตรายต่อมนุษย์จะทำลายระบบประสาท แต่มีผลต่อตับ ตลอดจนทำลายระบบไขมันของร่างกายได้ การป้องกันควรใช้อุปกรณ์ ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ ที่ปิดจมูก และอื่นๆ
ที่มา
http://board.dserver.org/r/rose/00000067.html
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554
ขอบขนมปังมีประโยชน์
ดร.โทมัส ฮอฟมานน์ นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยมุนสเตอร์ เยอรมนี เป็นผู้พบว่าขอบขนมปังเป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระอันอุดมสมบูรณ์มากกว่าส่วนอื่นๆ ของขนมปัง งานวิจัยของเขามาจากการตรวจสอบขอบขนมปัง เนื้อขนมปัง และแป้งธรรมดา พบว่าขอบขนมปังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า โพรนีลไลซีน (pronyl-lysine) มากกว่าในส่วนที่เป็นขนมปังขาว 8 เท่า ขณะที่แป้งธรรมดาไม่มีเลย หมายความว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่ว่า จะเกิดขึ้นต่อเมื่อขนมปังผ่านกระบวนการอบมาแล้วเท่านั้น
สารโพรนิลไลซีนเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของกรดอะมิโนแอล-ไลซีน แป้ง และน้ำตาล ในขั้นตอนการอบ เรียกว่าปฏิกิริยาเมลาร์ด (Maliiard reaction) ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดสีน้ำตาลบนผิวหน้าของขนมปังที่ผ่านการอบแล้ว และกระ บวนการนี้ยังเป็นตัวสร้างสารให้กลิ่น รสชาติให้ขนมปัง รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ งานวิจัยบอกด้วยว่าขนมปังที่มีสีน้ำตาลเข้ม เช่น ขนมปังโฮลวีท มีสารต้าน อนุมูลอิสระมากกว่าขนมปังสีขาว และสารต้านอนุมูลอิสระจะยิ่งเพิ่มจำนวนหากก้อนขนมปังที่เข้าเตาอบมีขนาดเล็ก เพราะชิ้นขนมปังเล็กๆ จะมีพื้นผิวที่มากขึ้นในการเกิดปฏิกิริยาในกระบวนการนี้ หากเทียบกับขนมปังที่เป็นก้อนใหญ่ หรือเป็นปอนด์ แต่ฮอฟมานน์เตือนว่า ถ้าพยายามอบขนมปังให้เป็นสีน้ำตาลจนเกรียมมากไป สารเคมีที่มีประโยชน์ก็จะอันตรธานได้ง่ายๆ เหมือนกัน
ทั้งนี้ วิธีการที่ทำให้ขอบขนมปังมีประโยชน์คือการอบ จากที่กระบวนการอบเป็นการเปลี่ยนสภาพที่ยังดิบให้สุกโดยการใช้ความร้อน ซึ่งทั่วไปแล้วเตาอบ จะมีอุณหภูมิระหว่าง 191-232 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการอบขึ้นอยู่กับขนาดและส่วนผสมของขนมปังแต่ละชนิด ในขณะอบจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพและทางเคมีในโด คือ ความร้อนจะแผ่กระจายไปยังโด กระตุ้นให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีแรงดัน น้ำกลายเป็นไอและแอลกอฮอล์ขยายตัว ช่วยกันดันโครงร่างของโดให้มี ปริมาตรเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกันความร้อนในช่วงแรกของการอบจะกระตุ้นการทำงานของยีสต์และเอนไซม์ให้เกิดกระบวนการหมักเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดก๊าซและแอลกอฮอล์ เสริมขึ้นมา ซึ่งโดยปกติยีสต์จะหยุดการทำงานที่ 43 องศาเซลเซียส และจะตายที่อุณหภูมิ 54 องศาเซลเซียส เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้นสตาร์ชจะพองตัวและกลายเป็นเจล ขณะขนมปังสุกนี้ สตาร์ชจะเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอะมิโลสจะเคลื่อนย้ายออกจากเม็ดสตาร์ช เมื่อทำให้ขนมปังเย็นและทิ้งไว้นาน อะมิโลสจะเปลี่ยนแปลงกลับ มีลักษณะขุ่นเป็นตะกอนขาวอีกครั้ง ในระหว่างที่สตาร์ชเกิดเจลนั้นจะดึงน้ำจากโดมาทำให้กลูเตนสูญเสียน้ำ เปลี่ยนสภาพจากเดิมที่เคยยืดหยุ่นกลับแข็งตัวขึ้น ทำให้ได้โครงร่างของเซลล์มีรูพรุน ผนังเซลล์บางเป็นใยเชื่อมติดกัน รูปรีบ้าง กลมบ้าง กระจายอยู่ทั่วไปทั้งก้อนขนมปัง ในขณะเดียวกันเอนไซม์และยีสต์จะค่อยๆ ตายไป เนื่องจากทนความร้อนที่เพิ่มขึ้นไม่ได้
ส่วนผิวนอกของขนมปังจะเปลี่ยนสีเพราะเกิดคาราเมล เนื่องจากความร้อนทำให้น้ำตาลที่ผิวโดเปลี่ยนสภาพเป็นสีน้ำตาล และการเกิดปฏิกิริยาเมลาร์ด จากน้ำตาลและกรดอะมิโน ให้สารสีน้ำตาลเรียกว่ามิลานอยดิน พร้อมเกิดสารให้กลิ่นรส และสุกในที่สุด โดยเกิดการสูญเสียน้ำหนักของก้อนโด 9-10% เนื่อง จากการระเหยของน้ำและสารอื่นๆ
สารโพรนิลไลซีนเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของกรดอะมิโนแอล-ไลซีน แป้ง และน้ำตาล ในขั้นตอนการอบ เรียกว่าปฏิกิริยาเมลาร์ด (Maliiard reaction) ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดสีน้ำตาลบนผิวหน้าของขนมปังที่ผ่านการอบแล้ว และกระ บวนการนี้ยังเป็นตัวสร้างสารให้กลิ่น รสชาติให้ขนมปัง รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ งานวิจัยบอกด้วยว่าขนมปังที่มีสีน้ำตาลเข้ม เช่น ขนมปังโฮลวีท มีสารต้าน อนุมูลอิสระมากกว่าขนมปังสีขาว และสารต้านอนุมูลอิสระจะยิ่งเพิ่มจำนวนหากก้อนขนมปังที่เข้าเตาอบมีขนาดเล็ก เพราะชิ้นขนมปังเล็กๆ จะมีพื้นผิวที่มากขึ้นในการเกิดปฏิกิริยาในกระบวนการนี้ หากเทียบกับขนมปังที่เป็นก้อนใหญ่ หรือเป็นปอนด์ แต่ฮอฟมานน์เตือนว่า ถ้าพยายามอบขนมปังให้เป็นสีน้ำตาลจนเกรียมมากไป สารเคมีที่มีประโยชน์ก็จะอันตรธานได้ง่ายๆ เหมือนกัน
ทั้งนี้ วิธีการที่ทำให้ขอบขนมปังมีประโยชน์คือการอบ จากที่กระบวนการอบเป็นการเปลี่ยนสภาพที่ยังดิบให้สุกโดยการใช้ความร้อน ซึ่งทั่วไปแล้วเตาอบ จะมีอุณหภูมิระหว่าง 191-232 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการอบขึ้นอยู่กับขนาดและส่วนผสมของขนมปังแต่ละชนิด ในขณะอบจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพและทางเคมีในโด คือ ความร้อนจะแผ่กระจายไปยังโด กระตุ้นให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีแรงดัน น้ำกลายเป็นไอและแอลกอฮอล์ขยายตัว ช่วยกันดันโครงร่างของโดให้มี ปริมาตรเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกันความร้อนในช่วงแรกของการอบจะกระตุ้นการทำงานของยีสต์และเอนไซม์ให้เกิดกระบวนการหมักเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดก๊าซและแอลกอฮอล์ เสริมขึ้นมา ซึ่งโดยปกติยีสต์จะหยุดการทำงานที่ 43 องศาเซลเซียส และจะตายที่อุณหภูมิ 54 องศาเซลเซียส เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้นสตาร์ชจะพองตัวและกลายเป็นเจล ขณะขนมปังสุกนี้ สตาร์ชจะเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอะมิโลสจะเคลื่อนย้ายออกจากเม็ดสตาร์ช เมื่อทำให้ขนมปังเย็นและทิ้งไว้นาน อะมิโลสจะเปลี่ยนแปลงกลับ มีลักษณะขุ่นเป็นตะกอนขาวอีกครั้ง ในระหว่างที่สตาร์ชเกิดเจลนั้นจะดึงน้ำจากโดมาทำให้กลูเตนสูญเสียน้ำ เปลี่ยนสภาพจากเดิมที่เคยยืดหยุ่นกลับแข็งตัวขึ้น ทำให้ได้โครงร่างของเซลล์มีรูพรุน ผนังเซลล์บางเป็นใยเชื่อมติดกัน รูปรีบ้าง กลมบ้าง กระจายอยู่ทั่วไปทั้งก้อนขนมปัง ในขณะเดียวกันเอนไซม์และยีสต์จะค่อยๆ ตายไป เนื่องจากทนความร้อนที่เพิ่มขึ้นไม่ได้
ส่วนผิวนอกของขนมปังจะเปลี่ยนสีเพราะเกิดคาราเมล เนื่องจากความร้อนทำให้น้ำตาลที่ผิวโดเปลี่ยนสภาพเป็นสีน้ำตาล และการเกิดปฏิกิริยาเมลาร์ด จากน้ำตาลและกรดอะมิโน ให้สารสีน้ำตาลเรียกว่ามิลานอยดิน พร้อมเกิดสารให้กลิ่นรส และสุกในที่สุด โดยเกิดการสูญเสียน้ำหนักของก้อนโด 9-10% เนื่อง จากการระเหยของน้ำและสารอื่นๆ
วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554
แมวเรืองแสง รักษาโรคเอดส์
Mthai News : สำนักข่าวต่างประเทศเผยภาพแมวเรืองแสง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยเพื่อนำมารักษาโรคเอดส์ โดยการนำแมวบ้านมาตัดต่อพันธุกรรมด้วยยีน 2 ชนิด คือยีนที่ผลิตโปรตีนซึ่งต่อต้านโรคเอดส์ เรียกว่า feline immunodeficiency virus (FIV) และการใช้ยีนแมงกระพรุนเรืองแสง ซึ่งจะทำให้แมวเกิดการเรืองแสงสีเขียว เมื่อถูกส่องด้วยแสงอัลตราไวโอเลต
ทั้ง นี้ การส่องด้วยแสงอัลตราไวโอเลตนั้นเพื่อตรวจสอบความสามารถว่าแมวนั้นสามารถ ผลิตโปรตีนรักษาเอดส์ได้เช่นเดียวกับลิงแสมหรือไม่ โดยยีนที่ได้จากโปรตีนและแมงกระพรุนเรืองแสงจะทำงานสัมพันธ์กัน โดยยีนเรืองแสงจากแมงกระพรุนใช้สำหรับติดตามการทำงานของยีนอีกชนิดหนึ่ง
โดย ขั้นตอนเริ่มจาก นักวิจัยใช้ไวรัสที่ไม่มีอันตรายถ่ายโอนยีนเข้าไปในไข่ของแมวที่นำออก มาระหว่างการทำหมัน จากนั้นนำไข่ไปปฏิสนธิในหลอดทดลอง (IVF) และนำฝังในแม่อุ้มบุญ โดยทำการทดลองมากถึง 22 ครั้งจึงได้ลูกแมว 5 ตัว แต่รอดชีวิตเพียง 3 ตัว โดยมี 2 ตัวสุขภาพดี แต่อีก 1 ตัว มีปัญหาสุขภาพแต่นักวิจัยไม่เชื่อว่าเกิดจากการดัดแปลงยีน
อย่างไรก็ ตาม ในการศึกษาได้ทดลองฉายแสงอัลตราไวโอเลตบนตัวลูกแมวพบว่า สามารถเรืองแสงได้ ซึ่งช่วยยืนยันได้ด้วยว่า มีการผลิตโปรตีนอยู่ในเนื้อเยื่อ เมื่อนำเซลล์ลูกแมวเหล่านี้ออกมาทดสอบพบว่า สามารถต้านการติดเชื้อ FIV ได้ดีกว่าเซลล์จากแมวปกติ ในขณะที่มีลูกแมว 2 ตัวสามารถสืบพันธุ์มีลูกได้ โดยที่ลูกแมวรุ่นหลังทั้งหมดยังคงมียีนใหม่อยู่
ทั้ง นี้ การส่องด้วยแสงอัลตราไวโอเลตนั้นเพื่อตรวจสอบความสามารถว่าแมวนั้นสามารถ ผลิตโปรตีนรักษาเอดส์ได้เช่นเดียวกับลิงแสมหรือไม่ โดยยีนที่ได้จากโปรตีนและแมงกระพรุนเรืองแสงจะทำงานสัมพันธ์กัน โดยยีนเรืองแสงจากแมงกระพรุนใช้สำหรับติดตามการทำงานของยีนอีกชนิดหนึ่ง
โดย ขั้นตอนเริ่มจาก นักวิจัยใช้ไวรัสที่ไม่มีอันตรายถ่ายโอนยีนเข้าไปในไข่ของแมวที่นำออก มาระหว่างการทำหมัน จากนั้นนำไข่ไปปฏิสนธิในหลอดทดลอง (IVF) และนำฝังในแม่อุ้มบุญ โดยทำการทดลองมากถึง 22 ครั้งจึงได้ลูกแมว 5 ตัว แต่รอดชีวิตเพียง 3 ตัว โดยมี 2 ตัวสุขภาพดี แต่อีก 1 ตัว มีปัญหาสุขภาพแต่นักวิจัยไม่เชื่อว่าเกิดจากการดัดแปลงยีน
อย่างไรก็ ตาม ในการศึกษาได้ทดลองฉายแสงอัลตราไวโอเลตบนตัวลูกแมวพบว่า สามารถเรืองแสงได้ ซึ่งช่วยยืนยันได้ด้วยว่า มีการผลิตโปรตีนอยู่ในเนื้อเยื่อ เมื่อนำเซลล์ลูกแมวเหล่านี้ออกมาทดสอบพบว่า สามารถต้านการติดเชื้อ FIV ได้ดีกว่าเซลล์จากแมวปกติ ในขณะที่มีลูกแมว 2 ตัวสามารถสืบพันธุ์มีลูกได้ โดยที่ลูกแมวรุ่นหลังทั้งหมดยังคงมียีนใหม่อยู่
ไทม์จัดอันดับ 10 สัตว์ประหลาดตัวเป็นๆที่น่ากลัวที่สุด
โดยอันดับที่ 1 เป็น จระเข้ยักษ์ ที่พบในหมู่บ้านบูนาวัน ในประเทศฟิลิปปินส์ ด้วยความยาว 21 ฟุต และน้ำหนักกว่า 2370 ปอนด์ (ประมาณ 1 ตัน) ซึ่งมีคนสังเวยชีวิตให้เจ้าจระเข้ยักษ์ตัวนี้หลายคน จนกระทั่งเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ชาวบ้านได้ช่วยกันใช้เครนนำร่างของมันขึ้นมาไว้บนรถบรรทุก
อันดับที่ 2 ปลาหมึกยักษ์ ไม่ ค่อยถูกพบขณะยังมีชีวิต แต่ปลาหมึกยักษ์ตัวนี้ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นคาดการณ์ว่า มันจะเติบโตและมีความยาวได้ถึง 45 ฟุต และหนักเกือบ 1 ตัน ซึ่งถูกถ่ายภาพไว้ได้ในปี 2004 ที่ใต้ทะเลลึก 3,000 ฟุต
อันดับที่ 3 ได้แก่ Goliath Birdeater Tarantula แมงมุมยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความยาวประมาณ 1 ฟุต หนักประมาณ 6 ออนซ์ (170 กรัม) มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่อเมริกาใต้ โดย สมญานาม Goliath Birdeater Tarantula มาจาก แมงมุมชนิดนี้ชอบกินนกฮัมมิ่งเบิร์ด
อันดับ 4 คือ แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส (Portuguese Man-of-War) เป็น แมงกระพรุนที่มีลักษณ์คล้ายปลาหมึกที่มีพิษร้ายแรงมาก พบในทะเลเปิดของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลเมดิเตอเรเนียน, มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย
อันดับ 5 ได้แก่ แมงป่องจักรพรรดิ ถูกพบอยู่ทางตะวันตกของแอฟริกา เป็นแมงป่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวถึง 8 นิ้ว แม้ว่าหล็กในจะทำให้มันดูดุร้าย แต่ความจริงแล้วในเป็นสัตว์ที่เชื่องและสามารถนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงได้
อันดับ 6 คือ ค้างคาวดูดเลือด มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ชอบดูดเลือดสัตว์ชนิดอื่นเป็นอาหาร
อันดับ 7 ได้แก่ ปลาพญานาค (ปลายักษ์) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดถึง 56 ฟุต อาศัยอยู่ในน้ำลึกกว่า 3,000 ฟุต เคยพบตัวใหญ่ที่สุด มีความยาวถึง 200 ฟุต แต่เมื่อมันใกล้จะตายมักลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ จนบางครั้งถูกเข้าใจผิดว่าเป็นงู
อันดับ 8 คือ แมงกระพรุนกล่อง(ตัวต่อทะเล) อาศัย อยู่ในน้ำตามแนวชายฝั่งของออสเตรเลียตอนเหนือและทั่วอินโดแปซิฟิก มีสีฟ้าอ่อน โปร่งใสเป็นแมงกระพรุนที่มีพิษร้ายแรงมาก เมื่อถูกต่อยพิษของมันจะตรงเข้าสู่หัวใจและระบบประสาท
อันดับที่ 9 ได้แก่ งูเหลือมพม่า เป็น งูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มที่ได้ถึง 25 ฟุต และหนักถึง 200 ปอนด์ แต่ไม่มีพิษร้ายแรง ล่าเหยื่อโดยการบีบรัดเหยื่อ มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และอันดับที่ 10 ได้แก่ The Loch Ness Monster สัตว์ประหลาดล็อกเนสส์ มีลำคอยาว ลำตัวสีดำ อาศัยอยู่ในน้ำลึก ทางตอนเหนือของสก็อตแลนด์ เชื่อว่าเนสซีมีรูปร่างคล้ายสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยในทะเลยุคเดียวกับ ไดโนเสาร์
MThai News : เว็บไซต์นิตยสารไทม์ ได้จัดอันดับ สัตว์ประหลาดที่น่ากลัวที่สุดในโลก 10อันดับ
วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554
จีโนมคนไทย
นักวิจัยรามาประกาศถอดจีโนมคนไทยรายแรก สุ่ม 1 ตัวอย่างชายไทย แต่ไม่เปิดเผยนาม สร้างฐานข้อมูลอ้างอิงละเอียดที่สุด 3 พันล้านเบส เพื่อวิเคราะห์ลำดับโปรตีน และค้นหายาที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล คาดใช้เวลา 3-5 ปี จะได้มาตรฐานการรักษาแบบเลือกใช้ยาตามลักษณะทางพันธุกรรม พร้อมลดเสี่ยงอันตรายจากการแพ้ยา
ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าโครงการเภสัชพันธุศาสตร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แถลงต่อสื่อมวลชน ถึงการทำโครงการถอดรหัสพันธุกรรมคนไทยรายแรก ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ประเทศไทย (TCELS) หน่วยไวรัสวิทยา และห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์และการรักษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ณ อาคารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 10 พ.ค.54
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว เป็นการถอดรหัสพันธุกรรมหรือจีโนมของคนไทยเป็นครั้งแรก โดยจะเริ่มขึ้นใน เดือน มิ.ย.54 ซึ่งทางโครงการได้สุ่มคัดเลือกชายไทย ที่มีสุขภาพดี และมีบรรพบุรุษอยู่ในไทยย้อนไป 3-4 ชั่วรุ่น แต่ไม่เปิดเผยนาม ซึ่งผู้ได้รับคัดเลือกนั้น เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มตัวอย่าง 280 คนจากโครงการวิจัยด้านเภสัชพันธุศาสตร์ ที่ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้
สำหรับผลจากการถอดจีโนมครั้งนี้ จะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง หรือต้นแบบสำหรับศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงจีโนมในระดับดีเอ็นเอ ของผู้ป่วยโรคต่างๆ ทั้งที่พบได้บ่อยและพบได้ยาก โดยเน้นเฉพาะโรคทางพันธุกรรม “ถ้าถอดรหัสพันธุกรรมแล้ว เราจะได้ข้อมูลสำหรับวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรม ความเสี่ยงเสี่ยงที่จะเกิดโรคพันธุกรรมที่ซับซ้อน รู้ว่าจะแพ้ยาตัวไหน หรือใช้ยาตัวไหนได้ดี รู้ว่าจะมีอายุประมาณเท่าไร หรือมีแนวโน้มเป็นโรคอะไร ซึ่งหลังจากมีรหัสพันธุกรรมแล้ว เราสามารถแปลงเป็นลำดับโปรตีน แล้วใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างโครงสร้างสามมิติของโปรตีน ถ้าเป็นโปรตีนที่ก่อโรคก็จะหายามารักษาได้ โดยใช้ยา 6,000 รายการ ที่ได้รับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) ซึ่งจะเป็นการเพิ่มสรรพคุณยาด้วย” ดร.วสันต์กล่าว และบอกว่าโครงการนี้ ยังวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของผู้ที่เป็นโรคด้วย
ทางด้าน ดร.เอกวัฒน์ ผสมทรัพย์ ผู้สร้างโปรแกรมวิเคราะห์รหัสพันธุกรรม จากหน่วยไวรัสวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายว่า รหัสพันธุกรรมจะมีลำดับเบส A G T C ซึ่งการรู้รหัสเบส จะทำให้เรารู้ลำดับโปรตีน เมื่อนำเลือดใส่เข้าเครื่องถอดรหัสพันธุกรรม จะได้ลำดับเบสหลายเส้น แต่ละเส้นยาว 50-60 ตัว จากนั้นนำมาต่อกัน ซึ่งใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 1-2 สัปดาห์ ข้อมูล 3 พันล้านเบสนี้ เทียบเท่าพจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษ 100 เล่มเรียงกัน
หลังจากนั้นจะใช้โปรแกรมวิเคราะห์ยีน 20,000 ชิ้น แล้ววิเคราะห์โปรตีนอีก 60,000 ชุด ตามด้วยการวิเคราะห์โครงสร้าง 3 มิติของโปรตีนปกติและโปรตีนที่ก่อโรค โดยกระบวนการทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 3-5 ปี ผ่านการประมวลผลตำแหน่งดีเอ็นเอบนจีโนมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเซลล์ปกตินั้น ใช้โปรแกรมชีววิทยาเชิงคำนวณ (computational biology) ที่ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) สหรัฐฯ
หากโครงการนี้แล้วเสร็จ ดร.วสันต์กล่าวว่า จะกลายเป็นทางเลือกใหม่ ให้แพทย์นำไปทดลองใช้ เพราะการรักษาแบบเดิมที่ต้องเลือกใช้ยากับผู้ป่วยแบบลองผิดลองถูก ซึ่งมีความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดอาการแพ้ยาได้ โดยบางกรณีไม่ใช่แค่ผื่นขึ้น แต่รุนแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต หากปรับมาสู่การรักษาที่มุ่งเน้นการใช้ยาส่วนบุคคล (personalized medicine) ที่สอดคล้องกับพันธุกรรมของผู้ป่วย ก็จะปลอดภัยและเป็นมาตรฐานในการรักษาต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ ในประเทศไทยเริ่มมีการรักษาแบบมุ่งเน้นการใช้ยาส่วนบุคคลแล้ว โดย ดร.ชลภัทร สุขเกษม จากห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์และการรักษาโรคเฉพาะบุคคล โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ยกตัวอย่างการรักษาผู้ป่วยออทิสติกที่มีถึง 30-40% แพ้ยากันชักแล้วเกิดอาการสตีเฟน จอห์นสันซินโดรม จึงมีผู้ป่วยกลุ่มนี้มารับการตรวจยีนที่มีโอกาสแพ้ยาจำนวนมาก โดยค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 2,000-20,000 บาท ซึ่งเป็นผลตรวจที่ใช้ได้ตลอดชีวิต แต่ขณะนี้ทางห้องปฏิบัติการกำลังพัฒนาชุดตรวจเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการตรวจและเปิดโอกาสให้คนไทยได้รับการตรวจมากขึ้น โดยพยายามทำให้ราคาลงไปอยู่ในระดับหลักร้อยถึงหลักพันบาท.
ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าโครงการเภสัชพันธุศาสตร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แถลงต่อสื่อมวลชน ถึงการทำโครงการถอดรหัสพันธุกรรมคนไทยรายแรก ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ประเทศไทย (TCELS) หน่วยไวรัสวิทยา และห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์และการรักษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ณ อาคารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 10 พ.ค.54
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว เป็นการถอดรหัสพันธุกรรมหรือจีโนมของคนไทยเป็นครั้งแรก โดยจะเริ่มขึ้นใน เดือน มิ.ย.54 ซึ่งทางโครงการได้สุ่มคัดเลือกชายไทย ที่มีสุขภาพดี และมีบรรพบุรุษอยู่ในไทยย้อนไป 3-4 ชั่วรุ่น แต่ไม่เปิดเผยนาม ซึ่งผู้ได้รับคัดเลือกนั้น เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มตัวอย่าง 280 คนจากโครงการวิจัยด้านเภสัชพันธุศาสตร์ ที่ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้
สำหรับผลจากการถอดจีโนมครั้งนี้ จะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง หรือต้นแบบสำหรับศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงจีโนมในระดับดีเอ็นเอ ของผู้ป่วยโรคต่างๆ ทั้งที่พบได้บ่อยและพบได้ยาก โดยเน้นเฉพาะโรคทางพันธุกรรม “ถ้าถอดรหัสพันธุกรรมแล้ว เราจะได้ข้อมูลสำหรับวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรม ความเสี่ยงเสี่ยงที่จะเกิดโรคพันธุกรรมที่ซับซ้อน รู้ว่าจะแพ้ยาตัวไหน หรือใช้ยาตัวไหนได้ดี รู้ว่าจะมีอายุประมาณเท่าไร หรือมีแนวโน้มเป็นโรคอะไร ซึ่งหลังจากมีรหัสพันธุกรรมแล้ว เราสามารถแปลงเป็นลำดับโปรตีน แล้วใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างโครงสร้างสามมิติของโปรตีน ถ้าเป็นโปรตีนที่ก่อโรคก็จะหายามารักษาได้ โดยใช้ยา 6,000 รายการ ที่ได้รับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) ซึ่งจะเป็นการเพิ่มสรรพคุณยาด้วย” ดร.วสันต์กล่าว และบอกว่าโครงการนี้ ยังวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของผู้ที่เป็นโรคด้วย
ทางด้าน ดร.เอกวัฒน์ ผสมทรัพย์ ผู้สร้างโปรแกรมวิเคราะห์รหัสพันธุกรรม จากหน่วยไวรัสวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายว่า รหัสพันธุกรรมจะมีลำดับเบส A G T C ซึ่งการรู้รหัสเบส จะทำให้เรารู้ลำดับโปรตีน เมื่อนำเลือดใส่เข้าเครื่องถอดรหัสพันธุกรรม จะได้ลำดับเบสหลายเส้น แต่ละเส้นยาว 50-60 ตัว จากนั้นนำมาต่อกัน ซึ่งใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 1-2 สัปดาห์ ข้อมูล 3 พันล้านเบสนี้ เทียบเท่าพจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษ 100 เล่มเรียงกัน
หลังจากนั้นจะใช้โปรแกรมวิเคราะห์ยีน 20,000 ชิ้น แล้ววิเคราะห์โปรตีนอีก 60,000 ชุด ตามด้วยการวิเคราะห์โครงสร้าง 3 มิติของโปรตีนปกติและโปรตีนที่ก่อโรค โดยกระบวนการทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 3-5 ปี ผ่านการประมวลผลตำแหน่งดีเอ็นเอบนจีโนมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเซลล์ปกตินั้น ใช้โปรแกรมชีววิทยาเชิงคำนวณ (computational biology) ที่ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) สหรัฐฯ
หากโครงการนี้แล้วเสร็จ ดร.วสันต์กล่าวว่า จะกลายเป็นทางเลือกใหม่ ให้แพทย์นำไปทดลองใช้ เพราะการรักษาแบบเดิมที่ต้องเลือกใช้ยากับผู้ป่วยแบบลองผิดลองถูก ซึ่งมีความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดอาการแพ้ยาได้ โดยบางกรณีไม่ใช่แค่ผื่นขึ้น แต่รุนแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต หากปรับมาสู่การรักษาที่มุ่งเน้นการใช้ยาส่วนบุคคล (personalized medicine) ที่สอดคล้องกับพันธุกรรมของผู้ป่วย ก็จะปลอดภัยและเป็นมาตรฐานในการรักษาต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ ในประเทศไทยเริ่มมีการรักษาแบบมุ่งเน้นการใช้ยาส่วนบุคคลแล้ว โดย ดร.ชลภัทร สุขเกษม จากห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์และการรักษาโรคเฉพาะบุคคล โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ยกตัวอย่างการรักษาผู้ป่วยออทิสติกที่มีถึง 30-40% แพ้ยากันชักแล้วเกิดอาการสตีเฟน จอห์นสันซินโดรม จึงมีผู้ป่วยกลุ่มนี้มารับการตรวจยีนที่มีโอกาสแพ้ยาจำนวนมาก โดยค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 2,000-20,000 บาท ซึ่งเป็นผลตรวจที่ใช้ได้ตลอดชีวิต แต่ขณะนี้ทางห้องปฏิบัติการกำลังพัฒนาชุดตรวจเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการตรวจและเปิดโอกาสให้คนไทยได้รับการตรวจมากขึ้น โดยพยายามทำให้ราคาลงไปอยู่ในระดับหลักร้อยถึงหลักพันบาท.
ชิมแปนซี
ทั้งนี้ ชิมแปนซีทั้ง 10 ตัว ถูกแยกออกมาจากแม่หลังจากลืมตาดูโลกได้ไม่นาน และได้ถูกนำไปเป็นสัตว์ทดลองในการทดลองยาและทดลองทางการแพทย์ ในบริษัทผู้ผลิตยาแห่งหนึ่งของออสเตรีย โดยทั้ง 10 ตัวถูกแยกให้อยู่ตามลำพังหลังจากมีการทดลองโดยการฉีดเชื้อเอชไอวีและไวรัสตับอักเสบให้
อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 1997 โครงการดังการต้องสิ้นสุดลง เนื่องจากบริษัทยาดังกล่าวถูกขายต่อ ซึ่งชิมแปนซีทั้ง 10 ตัว ถูกเคลื่อนย้ายไปอยู่ในฟาร์มแห่งหนึ่งเพื่อฝึกการใช้ชีวิต เพราะลิงพวกนี้อาศัยอยู่แต่ในห้องทดลองแบบปิดมาโดยตลอด ซึ่งผู้ดูแลบอกว่า ตนมีความสุข ที่เห็นลิงชิมแปนซีกลุ่มนี้มีความสุขมากขึ้นเรื่อยๆ
อึ้ง! คนไทยติดเอดส์เพิ่มขึ้น โดยวิธีฉีด เฉลี่ยวันละ 27 ราย
ทั้งนี้ จำนวนผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดในประเทศจากการคาดประมาณไม่ต่ำกว่า 30,000 คน และด้วยอัตราการใช้เข็มและกระบอกฉีดร่วมกันที่สูงถึงร้อยละ 36 ในปี 2551 ทำให้คาดประมาณว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ที่เป็นผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดยาเข้าเส้นเลือดในปี 2553 ประมาณ 900 คน
อย่างไรก็ตาม หากสามารถดำเนินการเร่งรัดการป้องกันการติดเชื้อ โดยใช้วิธีอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกลุ่มนี้ลดลงเหลือประมาณ 400 คน
ส่วนมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ติดยาเสพติดนั้น กรมดำเนินการภายใต้การสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ในการจัดทำ โครงการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดในประเทศไทย เพื่อหามาตรการลดปัญหาผู้ติดเชื้อจากการใช้ยาเสพติด ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 2 ปี มีอาสาสมัครที่เคยติดยาเสพติด ร่วมกับเครือข่ายผู้ใช้ยาแห่งประเทศไทย คอยช่วยเหลือในการหาคนเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมด 14 จังหวัด ซึ่งปัจจุบันมีผู้ติดยาฯ ที่เข้าร่วมโครงการราว 4-5 พันคน โดยแต่ละคนมีมาตรการในการลดอันตรายจากการใช้ยาแตกต่างกันไป
http://news.mthai.com/general-news/129883.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)