วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของสารเคมี

สารเคมีทุกชนิดส่วนใหญ่จะมีอันตราย ขึ้นอยู่กับชนิดของสารเคมีและปริมาณที่เราได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมีที่มีสลากเขียนข้างภาชนะที่บรรจุว่า "อันตราย (HAZARDOUS)" และมีรูปหัวกะโหลกไขว้แล้วละก็ จะมีอันตรายที่รุนแรงมากหากเราใช้ไม่ถูกวิธีหรือขาดการ เอาใจใส่ในการควบคุมดูแล อันตรายที่เกิดจากการใช้สารเคมี แยกออกได้ และประเภท คือ

เกิดเพลิงไหม้ อันตรายต่อร่างกายของมนุษย์        การเกิดเพลิงไหม้ของสารเคมีไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซองค์ประกอบ ที่สำคัญคือ ความร้อนและปริมาณก๊าซออกซิเจนที่ช่วยในการติดไฟ และถ้าหากสารเคมีอยู่ใน ภาชนะที่ปิดอาจจะเกิดการระเบิดได้ ดังนั้นถ้าหากเราสามารถกำจัดความร้อนและปริมาณก๊าซ ออกซิเจนให้ต่ำกว่าปริมาณที่สามารถทำให้สารเคมีเกิดไฟได้ ก็จะช่วยในการป้องกันการเกิด เพลิงไหม้จากสารเคมี สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ คือ จะเกิดก๊าซไวไฟเนื่องจากปฏิกิริยาของสารเคมีบาง
ชนิด เช่น เกิดก๊าซไฮโดรเจน (H2) จากปฎิกิริยาทางเคมีของขบวนการชุบโครเมียม เป็นต้น ซึ่งเราจะต้องมีวิธีการกำจัดไม่ให้เจอกับประกายไฟอย่างเด็ดขาด เพราะก๊าซไฮโดรเจนเป็น ก๊าซที่ติดไฟได้ สารเคมีที่สามารถทำปฏิกิริยาได้ไวกับสารเคมีตัวอื่น จะต้องเก็บไว้ในภาชนะที่เหมาะสม โดยเฉพาะ มิเช่นนั้นอาจจะเกิดอุบัติเหตุจากภาชนะที่บรรจุหลังขนส่งโดยกัดกร่อนเกิดการรั่ว ของสารเคมีได้ ดังนั้นทางโรงงานจะต้องมีการตรวจสอบอยู่สม่ำเสมอ และเอาใจใส่ในเรื่องนี้ อยู่ตลอดเวลาด้วย

อันตรายของสารเคมี ต่อร่างกายมนุษย์        อันตรายของสารเคมีต่อร่างกายมนุษย์ อันตรายที่เกิดขึ้นมีหลายรูปแบบ ตามลักษณะการสัมผัสและได้รับสารเคมีเข้าร่างกาย เช่น อาจจะเข้าร่างกายเราโดยทาง ปาก จมูก และผิวหนัง ดังนั้นโดยทั่วไปจะเกิดอาการต่อมนุษย์ คือ ทางระบบการย่อยอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และโรคผิวหนัง อุบัติเหตุอันตรายที่เกิดจากการใช้สารเคมี ก็เป็นอุบัติเหตุชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน อุตสาหกรรมโดยทั่วไปได้ เนื่องจากการขาดการเอาใจใส่ต่อวิธีการใช้ หรือการตรวจสอบ ภาชนะที่บรรจุ
ในกรณีที่มีมาตรการป้องกันเกิดการชำรุดเสียหาย พนักงานในโรงงานต้องหายใจหรือรับ เอาสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเป็นอันตรายมากอาจจะถึงแก่ชีวิตได้ การที่เราต้องเอาใจใส่เรื่อง สารเคมีก็เนื่องจากว่า ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีชนิดต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างกว้าง ขวางนั่นเอง เช่น
       ก๊าซแอมโมเนีย (NH3) อันตรายจะเกิดการระคายเคืองที่รุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจ ถ้าหากมนุษย์หายใจ เข้าไปปริมาณมากและมีความเข้มข้นสูง อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากก๊าซ
แอมโมเนียมีการใช้กันอย่างมากมายและมีความเข้มข้นสูง อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากก๊าซแอมโมเนียมีการใช้กันอย่างมากมาย ดังนั้นพนักงานควรใส่อุปกรณ์ ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วย เช่น ที่ครอบจมูกป้องกันก๊าซแอมโมเนียโดย
เฉพาะ ก๊าซแอมโมเนียสามารถระเบิดได้ หากรั่วไหลออกจากภาชนะที่บรรจุและเจอกับ เปลวไฟที่มีอยู่บริเวณนั้น
       คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) อันตรายที่เกิดขึ้นทันทีทันใด คือ หากหายใจเข้าไปมากๆ จะทำให้ขาดความรู้สึกตัว
บางทีอาจจะทำอันตรายต่อหัวใจได้ อันตรายที่รองลงมาคือ เกิดการปวดหลัง มีผลต่อ ตับและไต และระบบของการมองเห็น และยังจะมีอันตรายมากขึ้นหากคนนั้นได้กิน เหล้าด้วย การป้องกันที่ดีคือ ควรมีการระบายอากาศที่ดีเพื่อป้องกันการหายใจเอา
ไอของสารเคมีชนิดนี้เข้าไปในร่างกาย กรดไฮโดรครอลิก (HCl) กรดนี้โดยทั่วไปเราเรียกว่า กรดเกลือ มีคุณสมบัติในการกัดกร่อนโลหะต่างๆ อันตรายต่อร่างกายมนุษย์คือ การระคายเคืองผิวหนังและระบบทางเดินหายใจหรือ ส่วนอื่นๆ ที่เราสัมผัส การป้องกันโดยทั่วไปใช้ ถุงมือ ที่ปิดจมูก ครีมทา และระบบ ระบายอากาศที่ดี
        กรดไนตริค (HNO3) เป็นกรดที่มีความรุนแรงมากในการทำปฏิกิริยาเคมี เป็นตัวเพิ่มออกซิเจนให้กับ สารตัวอื่น และเป็นตัวกัดกร่อนที่รุนแรง ต้องเก็บเอาไว้ในภาชนะที่เป็นแก้ว และ ให้งจากพวกกระดาษและไม้ หากมีความเข้มข้นมากๆ จะสามารถทำให้เกิดการ ระเบิดและติดไฟได้ เมื่อกรดไนตริคทำปฏิกิริยากับสารอื่นแล้ว จะทำให้เกิดก๊าซ NOx (ออกไซด์ของ
ไนโตรเจน) ซึ่งก๊าซ NOx นี้จะมีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจจนถึงปอดของ มนุษย์ได้ การป้องกันที่ดี ี คือ ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ถุงมือยางที่ปิดจมูกเป็นต้น และต้องมีระบบระบายอากาศที่ดีด้วย
       กรดซัลฟูริค (H2SO4) กรดนี้เราเรียกทั่วไปว่า กรดกำมะถัน ลักษณะเป็นของเหลวที่เข้มข้นเหมือนน้ำมัน
ใสๆ มีอันตรายต่อมนุษย์โดยการกัดกร่อนเนื้อเยื่อที่เราสัมผัส เช่น ทางเดินหายใจ แผลพุพอง เกิดโรคผิวหนัง และระคายเคืองต่อเยื่อบุตา การป้องกัน ต้องระวังต่อไอที่ระเหยและการสัมผัสโดยตรง โดยการใช้อุปกรณ์ป้อง กันอันตรายส่วนบุคคล
กรดกำมะถัน ที่มีความเข้มข้นสูง จะกัดกร่อนต่อโลหะ และมีคุณสมบัติต่อการดูดน้ำ จากอากาศ และเมื่อทำปฏิกิริยากับโลหะจะเกิดก๊าซที่ไวไฟซึ่งสามารถเกิดการระเบิดได้
       ไตรคลอโรเอทธิลีน ( Cl-CH = CCl2) มีคุณสมบัติเป็นด่างละลายคราบไขมันต่างๆ อันตรายต่อมนุษย์จะทำลายระบบประสาท แต่มีผลต่อตับ ตลอดจนทำลายระบบไขมันของร่างกายได้ การป้องกันควรใช้อุปกรณ์ ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ ที่ปิดจมูก และอื่นๆ


ที่มา
http://board.dserver.org/r/rose/00000067.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น