วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สารเคมีในอาหาร

สารเคมีอันตรายที่ปนเปื้อนในอาหาร
บอแรกซ์ (Borax)   บอแรกซ์     เป็นสารเคมีที่เป็นเกลือของสารประกอบโบรอน ที่มีชื่อเรียกทางเคมีว่า โซเดียม บอเรต ( sodium borate )   โซเดียมเตตรา บอเรต ( sodium tetraborate ) โซเดียม ไบบอเรต ( sodium biborate ) ฯลฯ หรือในทางการค้า อาจเรียกชื่อว่า น้ำประสานทอง ผงกรอบ ผงเนื้อนิ่ม สารข้าวตอก ผงกันบูด และเม่งแซ หรือเพ่งแซ มีสูตรโครงสร้างทั่วไปทางเคมีคือ   Na 2B 4O 7   10H 2O
 คุณสมบัติของบอแรกซ์
         เป็นผลึกรูปโมโนคลินิก ( monoclinic ) ไม่มีกลิ่น สิขาวบริสุทธิ์ ความถ่วงจำเพาะ (specific gravity ) = 1.73 จุดหลอมเหลว 71 องศาเซลเซียส จุดเดือด 320 องศาเซลเซียส   ไม่ติดไฟ มีกลิ่นฉุนเมื่อละลายในน้ำร้อน   ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี   ละลายในน้ำเย็นได้สารละลายใส ความสามารถในการละลายน้ำ 5.1 กรัม/ 100มิลลิลิตร ที่   20 องศาเซลเซียส   สารละลายมี PH เป็นด่าง ประมาณ 9.5 ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการซักล้างและทำความสะอาด นอกจากนั้นยังช่วยยับยั้งขบวนการเมตาโบลิซึมของสารอินทรีย์หลายชนิด จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำยาทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค น้ำยาฟอกขาว คลอรีน น้ำยาซักรีด ยาฆ่าแมลงพวกมด แมลงสาบ ยาฆ่าเชื้อราและยาปราบวัชพืช   นอกจากนั้นยังนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์   เช่น ยาล้างตา น้ำยาบ้วนปาก และอื่นๆ เนื่องจากมีสรพคุณฆ่าเชื้อโรคแลแบคทีเรียอย่างอ่อน ปัจจุบันจึงมีการแอบนำเอาบอ แรกซ์มาใช้เป็นสารกันเสียในกรรมวิธีและส่วนผสมของน้ำยาเตมีในงานหลายชนิด กาว สำหรับงานวาดและงานปั้น โคลนแต่งสีแต่งกลิ่นในงานศิลปะเด็ก การเก็บรักษาดอกไม้สด และผลิตดอกไม้แห้ง   รมทั้งการปรับสภาพ pH หลังการ ดองสต้าฟสัตว์ให้คงสภาพเหมือนมีชีวิต
            บอ แรกซ์มีความเป็นพิษต่อเซลล์ สามารถรวมตัวกับคาร์โบไฮเดรต ไกลโคโปรตีน หรือไกล โคไลปิด ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผิวเซลล์ทุกชนิด หากมีอาการแพ้จะทำให้ผิวหนังแห้ง มีผื่นตามตัว ผิวหนังเป็นจ้ำ คล้ายห้อเลือด หมดสติและตายได้  
กลไกการทำงานและผลของบอแรกซ
            จะทำให้ระดับฟอสฟอรัสในสมองและตับลดต่ำลง มีผลต่อการยับยั้ง oxidoreductase enzyme   และ serine protease enzyme             เพิ่มความเข้มข้นของ RNA ในตับและสมอง   มีผลต่อระบบประสาท่าวนกกลาง ตับ ไต และเยื่อบุอวัยวะย่อยอาหาร ทำให้ความดันลดลง การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน สมองตื้อ มีอาการบวมช้ำ ฮีโมโกลบินลดต่ำลง ไตเสื่อม และสมรรถทางเพศลดต่ำลง ผิวหนังแดง ไตพิการ และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เสียชีวิตในผู้ใหญ่จากการได้รับสารบอ แรกซ์ 5- 20 กรัม และเด็กทารกหากได้รับสารบอ แรกซ์น้อยกว่า 5 กรัม   ก็ช็อค หรือตายได้
การนำบอแรกซ์มาใช้ในอาหาร
เนื่องจากสารบอ แรกซ์ ทำให้อาหารมีลักษณะ หยุ่นกรอบ และมีคุณสมบัติเป็นวัตถุกันเสียอยู่ด้วย จึงมีการนำมาใช้ผลิตอาหารประเภทลูกชิ้น หมูยอ ทอดมัน   ไส้กรอก แป้งกรุบ ลอดช่อง ผงวุ้น ทับทิมกรอบ มะม่วงดอง ผักผลไม้ดอง และยังพบว่ามีการนำเอาบอ แรกซ์ไปละลายในน้ำแล้วทาที่เนื้อหมู เนื้อวัว เพื่อให้ดูสด ไม่บูดเน่าก่อนเวลา นอกจากนี้ยังพบว่ามีการปลอมปนในผงชูรส เนื่องจากมีลักษณะเป็นผลึกเล็กๆเละเป็น ผงซึ่มมีสีขาวคล้ายเศษของผงชูรส  
ขนาดของบอแรกซ์ที่เป็นอันตราย
  • ขนาดที่ทำให้เกิดพิษ 5 – 10 กรัม ในผู้ใหญ่
  • ขนาดที่ทำให้ตายได้ 15 – 30 กรัม ในผู้ใหญ่
  • ขนาดที่ทำให้เกิดพิษและตาย 4.5 – 1.4 กรัมในเด็ก ซึ่งการตายจะเกิดขึ้นภายใน 2 – 3 วัน
การขจัดพิษ
  • จากกระเพาะอาหาร โดยการทำให้คนไข้อาเจียน ถ้าไม่อยู่ในภาวะโคม่า เคยมีอาการชักหรือมีความผิดแกติของการขย้อน ถ้าคนไข้โคม่าต้องทำการล้วงท้อง การใช้  Activated charcoal ในการกำจัดพิษ ไม่เกิดประโยชน์ และไม่ได้ช่วยดูดซับสารบอ แรกซ์เท่าที่ควร อาจใช้ยาระบายช่วยกำจักกรด บอร์ริค ที่ค้างอยู่ในทางเดินอาหาร เช่น ใช้ แมกนีเซียม ซัลเฟต 30 กรัม ในผู้ใหญ่ และ 250 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในเด็ก.
  • จากผิวหนัง โดยการล้างบริเวณผิวหนังที่ถูกสารหลายๆครั้ง ด้วยน้ำสะอาด และสบู่อ่อนๆ
  • จากดวงตา ใช้น้ำยาล้างตาอย่างน้อย 20 นาที หากยังระคายเคือง และเจ็บปวดให้รีบพบแพทย์
ฟอร์มาลิน
            สารละลาย Formaldehyde หรือ Formalin หรือที่รู้จักกันดีในนาม น้ำยาดองศพ ประกอบด้วยก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ประมาณร้อยละ 37 – 40 โดยน้ำหนักในน้ำ และมีเมธานอลปนอยู่ด้วยปริมาณร้อยละ 10 – 15 ลักษณะทั่วไปเป็นของเหลวใส ไม่มีสี แต่กลิ่นฉุนเฉพาะตัวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และทางการแพทย์ดังนี้
  • ด้านอุตสาหกรรม   :   ใช้ผลิตภัณฑ์   พลาสติก   สีย้อม   สิ่งทอ   และรักษาผ้าไม่ให้ยับหรือ ย่น
  • ด้านการแพทย์   :   ใช้ในการเก็บรักษา   Anatomical   specimens   ดองศพ   เนื่องจากช่วยให้เซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ   คงความสดอยู่นาน   ใช้ทำความสะอาดห้องผู้ป่วย   เครื่องมือแพทย์
  • ด้านเกษตรกรรม   :   ใช้ป้องกันและกำจัดโรคพืชที่เกิดจากจุลินท รีย์   ป้องกันผลผลิตทางการเกษตรระหว่างขนส่งและเก็บรักษา   เช่น   ที่ความเข้มข้น   0.004%   จะช่วยป้องกันเชื้อราในข้าว โอ๊ต, ข้าวสำลี   และใช้ป้องกันแมลงในธัญพืชหลักการเก็บเกี่ยว
ผลกระทบต่อสุขภาพ
            ฟอร์มาลินเป็นสารก่อมะเร็ง   หากได้รับจากการบริโภคอาหารที่สารดังกล่าวตกค้างอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร   ปวดท้องรุนแรง   อาเจียน   ท้องเสีย   หมดสติและเสียชีวิต   นอกจากนั้นยังทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง   ตาและจมูก     
สีผสมอาหาร
            อันตรายที่แผงมากับความงามสะดุดตานี้   อาจจะทำให้ท่านมีสุขภาพลดลง   โดยปกติอาหารที่ใส่สีไม่ได้หมายความว่าจะมีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น   เพราะจุดประสงค์เพียงต้องการให้สะดุดตาผู้ซื้อเท่านั้น   และสีที่ใช้ส่วนใหญ่มักจะเป็นสีที่สังเคราะห์ซึ่งมีคุณสมบัตินานกว่าสีชนิดที่สกัดมาจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ   จุดอันตรายจะอยู่ที่การนำสีชนิดที่ไม่ใช่สีผสมอาหารมาใช้   และโดยมากมักจะเป็นพวกสีย้อมผ้า   ผู้บริโภคจึงมีโอกาสที่จะได้รับโลหะหนัก   เช่น   สารแค ดเมี่ยม   ปรอท   และสารตะกั่ว   ที่เจือปนมากับสีชนิดนี้ด้วย
ขนมใส่สี
            อาจเกิดจากสีย้อมผ้า   หรือสีย้อมกระดาษ   การเลือกซื้อควรเลือกซื้อขนมที่มีสีอ่อนๆไม่ฉูดฉาดหรือมีสีเข้มเกินไป   เช่น   สีแดงจากแค รอทหรือถั่วแดง   สีน้ำเงินจากอัญชัน   สีดำจากถั่วดำหรือจากมะพร้าวเผาไฟ   ขนมที่บรรจุอยู่ในภาชนะที่ใส่สารป้องกันความชื้น   จะต้องมีเครื่องหมาย   อย.   รับรองคุณภาพ
สีย้อมผ้า
            อาหารที่เสี่ยง   ได้แก่   ปลาแห้ง   กุ้งแห้งย้อมสี   ลูกชิ้นใส่สี   กะปิใส่สี   แหนม   เนื้อเค็มใส่สี   ไก่สดย้อมสี   ขนมเค้กใส่สี   ลูกชุบ   ข้าวเกรียบใส่สี   น้ำหวานใส่สี   ผลไม้ดองหรือแช่อิ่ม
            อันตรายต่อผู้บริโภค   สีย้อมผ้าจะมีโลหะในปริมาณสูง   เช่น   สารตะกั่ว   สารหนู   โดยสารตะกั่วจะมีพิษต่อระบบประสาท   อาจทำให้เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้   ส่วนสารหนู   จะสะสมอยู่ในกล้ามเนื้อกระดูก   และผิวหนัง   ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง   เกิดโลหิตจาง   นอกจากนี้สารบางชนิดยังมีผลต่อการตกค้างของเม็ดเลือดแดง   การได้รับสีย้อมผ้าในปริมาณน้อย   แต่เป็นระยะเวลานาน   อาจมีผลทำให้เกิดเนื้องอกหรือมะเร็งที่อวัยวะในระบบทางเดินอาหารและกระเพาะปัสสาวะได้
การป้องกันเพื่อความปลอดภัย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่สี   หรือย้อมสี
  • บริโภคอาหารที่ใช้สีจากธรรมชาติ   อาทิ   สีเขียวจากใบเตย
  • หากหลีกเลี่ยงไม่ได้   ควรบริโภคอาหารซึ่งใส่สีสังเคราะห์ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ผสมอาหารเท่านั้น
สารฟอกขาว
            สารฟอกขาว ( sodium   hydrosulfite)   คือสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสีของอาหารไม่ให้เกิดสีน้ำตาลเมื่ออาหารถูกความร้อนหรือถูกหั่นแล้ววางไว้ให้สัมผัสอากาศ   และยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์   รา   และแบคทีเรีย
การนำไปใช้      สารฟอกขาวสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและอื่นๆ   ดังนี้
                        -อุตสาหกรรมอาหาร   ใช้เป็นวัตถุกันเสียในลูกกวาด   วุ้นเส้น   ไวน์   เบียร์
                        -อุตสาหกรรมอื่นๆ   ใช้ผสมในน้ำยาอัดรูป   ฟอกสีผ้า   กระดาษ   สบู่   ย้อมหนัง
ผลกระทบต่อสุขภาพ
            เมื่อร่างกายได้รับสารฟอกขาวเข้าไปในปริมาณมากจะทำลายวิตามินบี   1    ทำให้เกิดอาการหายใจขัด ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง   อาเจียน   อุจจาระร่วง   แน่นหน้าอก   ผิวหนังอักเสบ   ในรายที่แพ้อาจเกิดลมพิษ   ช็อค   หมดสติ   และเสียชีวิตได้
คำแนะนำในการเลือกซื้อของผู้บริโภค
            สารฟอกขาวพบมากในอาหารที่มีสีขาวนวลผิดปกติ   เช่น   ขิงซอย   ขิงดอง   ถั่วงอก   ทุเรียนกวน   ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรเลือกซื้ออาหารที่มีสีใกล้เคียงธรรมชาติ   และควรล้างวัตถุดิบก่อนที่จะนำมาปรุงอาหารด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง   หรือ   การปรุงอาหารให้สุกจะช่วยลดสารฟอกขาวที่ตกค้างอยู่ได้

ที่มา:
http://arts.kmutt.ac.th/ssc210/Group 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น