วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สารเคมีในเครื่องสำอาง

               
สารเคมีที่มักพบในเครื่องสำอาง

สารเคมีทั่วไป
Lanolin : ลาโนลิน สารสกัดที่ได้จากธรรมชาติให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวป้องกันการแห้งตึง แต่การวิจัยบางชิ้นพบว่าอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองและเป็นสาเหตุหนึ่งของการอุดตันและการก่อตัวของสิว
Mineral Oil : มิเนอรัลออยล์ เป็นผลผลิตที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมใช้เป็นสารทำความหล่อลื่นในเครื่องสำอาง พบได้ในโลชั่น มอยเจอร์ไรเซอร์ ครีมล้างหน้า อายครีม ฯลฯ ซึ่งมีโมเลกุลค่อนข้างใหญ่ จึงไม่สามารถซึมลงไปใต้ผิวหนังอย่างที่เคยคิดกันแม้จะไม่ก่อให้เกิดโทษร้ายแรงแต่ก็ไม่มีประโยชน์ต่อผิว
Glycerin : กลีเซอรีน เป็นสารที่เกิดจากการเติมด่างลงไปในไขมันใช้มากในการทำสบู่และเครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว รวมถึงน้ำยาบ้วนปากและยาสีฟันโดยได้รับการรับรองว่าปลอดภัยไม่ทำให้ระคายเคือง
Propylene Glycol : โพรไพลีน ไกลคอล นิยมใช้กันมากในเครื่องสำอางดูแลผิวที่ต้องการคุณสมบัติกักเก็บความชุ่มชื้น และซึมผ่านเข้าสู่ชั้นผิวหนังได้ดีปลอดภัยต่อผิว
Dimethicone :
ไดเมธิโคน คือน้ำมันซิลิโคนชนิดหนึ่งใช้เป็นเบสของผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นครีมต่าง ๆ ไม่เป็นอันตรายต่อผิว
Polysorbate :
โพลีซอร์เบต มักพบในเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหย เพราะเป็นสื่อผสมให้น้ำสามารถเข้ากับน้ำมันหอมระเหยได้ค่อนข้างปลอดภัยต่อคน
Cocamidopropyl Betaine :
โคคามิโดโพรพิล บีเทน เป็นสารที่ได้จากน้ำมันมะพร้าวมักใช้ผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ เช่น สบู่ แชมพู คอนดิชั่นเนอร์ หรือโฟมล้างหน้า ช่วยในการลดแรงตึงผิวของน้ำและทำให้เกิดฟอง แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้
Butylene Glycol :
บิวไทลีน ไกลคอล เป็นสารที่ทำหน้าที่เก็บกักความชุ่มชื้นรักษากลิ่นและความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ให้คงรูป มักเป็นส่วนผสมของโลชั่นต่าง ๆ ไม่เป็นอันตรายต่อผิว
Phenoxyethanol : ฟีน็อกซ์ซีธานอล พบได้ในเครื่องสำอางที่มีน้ำหอมผสมอยู่เพราะมีคุณสมบัติทำให้น้ำหอมคงตัว ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้แต่ต้องไม่ใช้ในปริมาณที่เข้มข้นไม่เช่นนั้นอาจเกิดอาการแพ้ได้
Sodium Chloride : โซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือทะเลไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด แต่หากใช้ในปริมาณที่เข้มข้นเกินไปก็ทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองได้พบในน้ำยาบ้วนปาก สบู่ อายครีม เกลืออาบน้ำ เป็นต้น
Stearic Acid : กรดสเตียริก เป็นสารที่เกิดไขมันและน้ำมันจากสัตว์จึงค่อนข้างปลอดภัย มักใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย โลชั่น ครีมรองพื้น และสบู่ มีคุณสมบัติช่วยสร้างความนุ่มนวล ลื่น เป็นประกายแวววาว

 สารเคมีที่ควรระวัง

Hydroquinone :
ไฮโดรควิโนน สารนี้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางทาฝ้าหาใช้ในระยะยาวจะก่อให้เกิดผลเสียต่อผิวอย่างมาก เช่น แพ้ ระคายเคือง และทำให้ผิวหน้าดำคล้ำกลายเป็นผ้าถาวร
Sodium Laureth Sulfate : โซเดียมลอริธซัลเฟต พบได้ในโฟมล้างหน้า ยาสีฟัน และในแชมพูมากที่สุด(ประมาณ 90 % ของแชมพูท้องตลาด) อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ในบางคน ดังนั้นหากมีผิวบอบบางแพ้ง่ายควรหลีกเลี่ยง
Formaldehyde :
ฟอร์มาลดีไฮด์ ช่วยฆ่าเชื้อโรคและเชื้อราต่าง ๆ พบมากในยาทาเล็บ สบู่ และแชมพู หากสูดดมมาก ๆ อาจเป็นอันตรายต่อระบบหายใจได้
S. D. Alcohol : เอส. ดี. แอลกอฮอล์ ใช้ในเครื่องสำอางประเภทรักษาความมันและสิวอุดตัน โดยจะเป็นตัวนำน้ำมันและสิ่งสกปรกออกไปรวมทั้งน้ำหล่อเลี้ยงบนชั้นผิวด้วย จึงทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้นและแห้งตึงได้
Sodium Hydroxide :
โซเดียมไฮดรอกไซด์ ใช้เป็นส่วนประกอบหลักใน สบู่ แชมพู น้ำยายืดผม ซึ่งเป็นสารที่มีความเป็นด่างสูง จึงอาจทำให้ผิวหรือหนังศีรษะแห้งลอกหรือเกิดการอักเสบได้
Talc/Talcum : แป้งทัลส์หรือทัลคัมที่พบได้ทั่วไปในผลิตภัณฑ์แป้งฝุ่น แป้งอัดแข็ง บลัชออน อายแชโดว์ หรือสเปรย์ระงับกลิ่นกาย ให้ความรู้สึกลื่น นุ่มนวล แต่ไม่ควรใช้กับส่วนเล้นลับเพราะมีการวิจัยพบว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมดลูกได้มากกว่าปรกติถึง 3 เท่า
Steroid :
สเตียรอยด์ สารอันตรายที่ก่อให้เกิดความผิดปรกติของผิวหนังได้ เนื่องจากสเตียรอยด์เป็นสารอันตรายผู้ผลิตจึงมักไม่ระบุชื่อลงไปในฉลาก ดังนั้นจึงควรเลือกเครื่องสำอางที่น่าเชื่อถือมีเลขทะเบียนอนุญาตจำหน่ายหรือตราที่รับรองว่าผ่านการตรวจสอบแล้ว


เคล็ดลับการเลือกและการเก็บรักษา

            ส่วนผสมปลอดภัย  บรรจุภัณฑ์ดูดี  แหล่งที่มาน่าเชื่อถือ  รายละเอียดสินค้าชัดเจน  มีอย. รับรอง
ทดสอบว่าไม่แพ้
            สำหรับการเก็บรักษาเครื่องสำอางให้สามารถใช้งานได้นานที่สุดและไม่เสื่อมสภาพไปก่อนอายุไขอันควรคือ ประมาณ 2 ปี นับจากวันที่ผลิต สิ่งสำคัญอยู่ที่การรักษาความสะอาดและอุณหภูมิอันเหมาะสมไม่ควรเก็บในห้องที่อากาศร้อนอบอ้าว ควรเก็บไว้ในที่ที่แดดส่องไม่ถึงบางคนชอบนำไปเก็บในตู้เย็น (ชั้นที่ไม่เย็นจัดนัก) ซึ่งก็ช่วยรักษาสภาพของเครื่องสำอางไว้ได้นาน
ไม่ควรนำมือเข้าไปควักหรือป้ายเครื่องสำอางออกมาจากขวดควรเทหรือใช้ช้อนสำหรับตักเล็ก ๆ ตักเครื่องสำอางออกมา หลังใช้ทุกครั้งควรปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันการระเหยของส่วนผสมที่เป็นน้ำในเครื่องสำอาง และการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุทำให้เครื่องสำอางบูดเสียได้ หากเครื่องสำอางมีกลิ่นหรือสีเปลี่ยนไปส่วนผสมแยกตัวออกจากกันเกิดฟองขึ้นหรือจับตัวเป็นก้อนแข็ง ฯลฯ แสดงว่าเสียใช้ไม่ได้แล้ว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Health&Cuisine ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น